วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

กศน.ความสำเร็จบนความล้มเหลว



กศน.หรือการศึกษานอกระบบขั้นพื้นฐาน
เป็นทางเลือกหลัก หรืออาจเรียกได้ว่า เป็นฟางเส้นสุดท้าย หรือโอกาสสุดท้ายทางการศึกษา
สำหรับประชาชนทั่วไปที่ขาดโอกาสทางการศึกษา และสำหรับเรียนนักศึกษา ที่ถูกผลักดันโดยครู หรือโดยโรงเรียนในระบบ ด้วยเหตุผลต่างๆนาๆ

  • กศน.จึงเปรียบเสมือน ฟางเส้นสุดท้ายของชีวิตจริงสำหรับคนไทย เพราะถ้าเราจบ มัยมต้นจากโรงเรียน ในระบบมา แต่ถูกผลักดันให้ออกจากโรงเรียน ในชั้น มัธยมปลาย ชีวิตการศึกษาเราก็จะขาดช่วงทันที


นั่นหมายถึงว่าเราไม่มีโอกาสที่จะก้าวไปสู่ในระดับที่สูงขึ้นหรือระดับอุดมศึกษา หรือมหาวิทยาลัยได้เลย เพราะความรู้เราขาดตอน ขาดช่วง มัยมศึกษาตอนปลายหรือ ม.6

  • ดังนั้น กศน.จึงเป็นประตูสำคัญที่จะทำให้เราได้มีโอกาส ต่อยอดทางการศึกษา ได้ต่อยอดทางชีวิตหน้าที่การงาน ให้สูงขึ้นได้ เปรียบเสมือนเป็นการ อัพเลเวลทางสังคมของตนเองให้สูงขึ้นนั่นเอง


การศึกษา ทำให้คนเรา เท่าเทียมกัน หรืออาจทำให้คนเราต่างกันก็ได้ในขณะเดียวกัน กล่าวคือ ถ้ามีเราการศึกษาเท่ากัน หรือใกล้เคียงกัน ก็จะทำให้สถานะทางสังคมของเราแต่ละคนไม่ห่าง หรือแตกต่างกันมากนัก

  • เมื่อเรามีการศึกษาไม่เท่ากัน ก็จะทำให้เรามีความเหลื่อมล้ำกันทางสังคมตามไปด้วย เช่น

ถ้าเราจบการศึกษาในระดับที่แตกต่างกัน ก็จะทำให้เรา ทำงานที่แตกต่างกันตามไปด้วย เมื่องานมีลักษณะต่างกัน ก็จะทำให้รายได้ของคนเราแตกต่างกัน เมื่อรายได้แตกต่างกัน ก็จะส่งผลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ หรือกินดีอยู่ดีแตกต่างกัน หรือความมั่นคงในชีวิตแตกต่างกันตามไปด้วย
  • ด้วยเหตุนี้การศึกษาจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิต และจำเป็นในทางสังคม การที่ประชาชาติมีการศึกษาสูงขึ้นก็จะหมายถึง พลเมืองในชาตินั้น ถูกยกระดับขึ้นให้เป็นสังคมของชนชั้นกลาง

หมายถึงสังคมของชนชั้นที่มีการศึกษา และมีรายได้ในระดับที่ดูแลตนเองและครอบครัวได้โดยไม่เดือดร้อน


นักศึกษา กศน.กำลังรอเข้าห้องสอบตามสนามสอบต่างๆของ ศูนย์ กศน.

 การที่ กศน.เปิดโอกาสทางการศึกษาทางเลือกขึ้นมา จึงเป็นคุณูปการอย่างมากมายต่อสังคม
ความสำเร็จของ กศน.อาจวัดได้จาก


  1. ตัวเลขผู้ที่มาสมัครเรียนในแต่ละปี
  2. ลดตัวเลขของที่อ่านหนังสือไม่ออก และตัวเลขของผู้ที่ขาดโอกาสทางการศึกษาให้กับสังคม
  3. เพิ่มโอกาส เพิ่มทางเลือก ให้ประชาชนได้มีโอกาสต่อยอดทางศึกษา
  4. สร้างแรงงานให้มีคุณภาพในระดีบที่สูงขึ้น ป้อนคืนสู่ตลาดแรงงาน
  5. เป็นก้าวแรกที่จะผลักดันให้ประชาชนเดินไปสู่ความสำเร็จทางการศึกษา และต่อยอดทางการศึกษา และความมั่นคงด้านอาชีพให้กับประชาชน
  6. ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในแต่ละปี
  7. ยกระดับและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมลง

การศึกษานอกระบบปัจจุบันได้แบ่งวิธีการเรียนออกเป็น 2 แนวทางหลักดังนี้

  1. การศึกษาทางไกล เป็นการเรียนรู้โดยผู้ที่สมัครเข้าเรียน ไม่จำเป็นต้องเข้าเรียน โดยที่ กศน.จะอำนวยความสะดวก ด้านสื่อการศึกษาในรูปแบบต่างๆให้ รวมถึง ติดต่อประสานงานกับนักศึกษาอย่างใกล้ชิด เช่นการแจ้งข่าวต่างๆ ปฏิทินการศึกษา แจ้งข่าวความเคลื่อนไหวในแต่ละภาคเรียน รวมไปถึงแจ้งข่าวการ ลงทะเบียนเรียน แจ้งผลคะแนน และอื่น โดยที่ผู้เรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น สถาบันทางไกลศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนศูนย์ท้องฟ้าจำลอง
  2. การศึกษาแบบพบกลุ่ม โดยที่นักศึกษาต้องเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มต่างๆตามที่ทาง กศน.ได้จัดขึ้นและกำหนดให้นักศึกษาต้องเข้าร่วม โดยที่ กศน.ยังคงอำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษาเช่นเดิม

  • ดังนั้นนักศึกษาที่ต้องการจะเข้าเรียน จึงมีโอกาส มีทางเลือกตามความถนัด เวลา ที่ตนเองสามารถบริหารจัดการได้ นักศึกษาสามารถเลือกเรียน ระบบใดระบบหนึ่งให้ตรงกับความสะดวกของตนเองได้

เมื่อนักศึกษาได้ผ่านกระบวนการการเรียนรู้ตามหลักสูตรต่างๆของกศน.แล้ว นักศึกษาจะได้วุฒิการศึกษา ตามช่วงชั้นที่ตนเองสมัครเรียนและสอบผ่าน รวมถึง ผ่านชั่วโมงกิจกรรม เข้าร่วมสัมมนาตามกระบวนการ หลักสูตรที่ กศน.จัดขึ้น

วุฒิบัติจาก กศน. มีศักดิ์และสิทธิ ทางการศึกษาสมบูรณ์ เหมือนเช่น กับผู้ที่จบการศึกษาในระบบทุกประการ




การที่ตัวเลขผู้สมัครเรียน กับ กศน.ในแต่ละปีเพิ่มมากขึ้น มองได้ 2 แนวทาง

  1. ความสำเร็จในการจัดการศึกษาของ กศน. ตรงเป้าหมาย ตรงกับความต้องการ หรือสนองตอบความต้องการของประชาชน
  2.  เป็นความล้มเหลว ของการจัดการศึกษาในระบบ ปฏิเสธไม่ได้ว่า ตัวเลขผู้สมัครเรียนมากมายในแต่ละปีของ กศน. ส่วนหนึ่งมาจาก เด็กที่ถูกผลักให้ออกจากโรงเรียน ภาคปกติ หรือในระบบ หมายถึง เด็กพวกนี้ ถูกปฏิเสธจากโรงเรียนภาคปกติ ในระบบ หรือ โรงเรียนในระบบ ไม่สามารถพาเด็กเหล่านี้ไปสู่ฝั่งฝันได้

จึงผลักเด็กออกมาเผชิญชะตากรรมตามลำพังในสังคม โดยที่โรงเรียนไม่สนใจผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและอนาคตของเด็ก ว่าจะมีชะตาชีวิตอย่างไร ทั้งที่ โรงเรียนปกติ หรือครู สามารถจะยื้อให้เด็กอยู่ต่อ ได้มีโอกาสเรียนหนังสือ จนจบชั้นนั้นๆได้ หรือจัดสรรห้องพิเศา สำหรับเด็กที่มีพลังให้เรียนเฉพาะกลุ่มได้ แต่โรงเรียนปกติก็ไม่ได้กระทำสิ่งนั้น

  • นทางตรงกันข้าม เด็กที่ถูกผลักออกจากโรงเรียนปกติในระบบ กลับมีผลการเรียนดี มีกิจกรรมเด่นใน กระบวนการศึกษาทางเลือกตามแบบ กศน.


ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่า ความสำเร็จของ กศน.จึงเปรียบเสมือน ความล้มของภาครัฐในการจัดการศึกษาในระบบไปด้วย เป็นเช่นเดียวกัน


กลุ่มสาระการเรียนรู้ของ กศน.5 กลุ่ม

  1.  สาระทักษะการเรียนรู้
  2. สาระความรู้พื้นฐาน
  3. สาระการประกอบอาชีพ
  4. สาระทักษะการดำเนินชีวิต
  5. สาระการพัฒนาสังคม
โครงสร้างหลักสูตร ของ กศน.

  • ระดับมัธยมต้น  (ม.3 )
  • ต้องสอบผ่านตามหลักสูตร จำนวน 56 หน่วยกิต
  • แยกเป็นวิชาบังคับ 40 หน่วยกิต
  • วิชาเลือก               16 หน่วยกิต


  • ระดับมัยมศึกษาตอนปลาย ( ม.6 )
  • ต้องสอบผ่านตามหลักสูตรครบ 76 หน่วยกิต
  • กลุ่มวิชาบังคับรวม 44 หน่วยกิต
  • กลุ่มวิชาเลือกจำนวน 32 หน่วยกิต

  • นอกจากนี้นักศึกษาของ กศน.ทุกระดับต้องร่วมกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ( กพช.) รวม 200 ชั่วโมง
หรือทำกิจกรรม กพช.ด้วยตนเองไม่น้อยกว่า 80 ชั่วโมง

เมื่อนักศึกษาสอบได้หน่วยกิตครบ ชั่วโมงกิจกรรมครบ นักศึกษาที่จะจบต้องร่วมสัมมนา และสอบ N -NET ด้วย จึงจะถือว่า นักศึกษาได้จบการเรียนของหลักสูตร กศน.อย่างสมบูรณ์





อนึง จุดบกพร่องของ กศน.ที่สมควรจะได้รับการแก้ไขคือ


  • การจัดปฏิทินการศึกษาที่ไม่ชัดเจน เช่นรายวิชาที่จะเรียนในแต่ละภาคการศึกษา และตารางสอบล่วงหน้า ในรายวิชานั้นๆ ซึ่งทาง กศน น่าจะมีการกำหนดล่วงหน้าให้นักศึกษา สามารถบริหารเวลาจัดการตัวเองก่อนลงทะเบียนได้



  • ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาการสอบซ้ำซ้อน ในรายวิชา ซึ่งจะมีปัญหากับนักศึกษา 

จริงอยู่แม้ทาง กศน.จะเปิดโอกาสให้นักศึกษา ยื่นคำร้องขอสอบเป็นกรณีพิเศษ ในวันเดียวกันได้ แต่ในความเป็นจริง กรรมการคุมสอบ ไม่สามารถขยายเวลาสอบ เป็นกรณีพิเศษ ออกไปให้นักศึกษาได้ หากแต่ใช้เวลาสอบเดียวกันกับเวลาที่สอบจริง

ทำให้นักศึกษามีปัญหาในการทำข้อสอบไม่แล้วเสร็จ ส่งผลต่อการสอบ และการขอจบการศึกษาได้ ซึ่ง ทางกศน.ต้องจัดการแก้ไขปัญหานี้ ให้หมดไปอย่างเร่งด่วน

 กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ ภาควิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น